คนมีประวัติ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใชเครื่องหมายวรรคตอน

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

      ๑.   .  เรียกว่า  เครื่องหมายมหัพภาค  ( มะ หับ พาก )
              -   ใช้เขียนกำกับอักษรย่อ  เช่น

คำย่อ
ย่อมาจาก
กม.
ก.ม.
ร.ร.
ด.ช.
พ.ศ.
มี.ค.
ช.ม.
บ.
ม.
 กิโลเมตร กฎหมายโรงเรียน
เด็กชาย
พุทธศักราช
มีนาคม
ชั่วโมง
บาท
เมตร

          -   ใช้เขียนหลังตัวเลข  หรืออักษรที่บอกลำดับข้อ        เช่น   ๑.   ๒.   ๓.  ฯลฯ-   ใช้เขียนคั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา        เช่น   ๑๕.๓๐  น.-   ใช้เขียนแสดงจุดทศนิยมในจำนวนเลข        เช่น   ๑๕.๕๐  บาท
      .   !  เรียกว่า   เครื่องหมายอัศเจรีย์  ( อัด สะ เจ รี )
          -   ใช้เขียนหลังคำอุทานที่แสดงอารมณ์        เช่น   เอ๊!  โธ่!  อนิจจา!   อุ๊ย!   ปัง!  ว้าย!   โอ้โฮ!-   ใช้เขียนหลังคำอุทานเลียนเสียงธรรมชาติ        เช่น  ครืน!   เปรี้ยง!
      ๓.   ?   เรียกว่า  เครื่องหมายปรัศนี  ( ปรัด สะ นี  )
          -   ใช้เขียนหลังประโยคคำถาม        เช่น    เธอมาจากไหน ?                    เธอจะไปไหน ?                    ใครอยู่ในห้อง ?                    คุณมีเงินกี่บาท ?( เครื่องหมายนี้ในภาษาไทยไม่นิยมใช้  มักใช้ในภาษาอังกฤษ )
      ๔.   (   )   เรียกว่า  เครื่องหมายนขลิขิต  ( นะ ขะ ลิ ขิต  )
          -   ใช้ค่อมคำหรือข้อความที่ขยายความข้างหน้า  ข้อความในวงเล็บเป็นการอธิบายเพิ่มเติม        เช่น        จังหวัดลพบุรี  ( ละโว้ )  อ่านว่า  จังหวัดลพบุรี  วงเล็บ  ละโว้                       ถ้าเป็นข้อความให้อ่าน ว่า วงเล็บเปิด เมื่อจบข้อความอ่านว่า  วงเล็บปิด-   ใช้คร่อมนามเต็มที่เขียนไว้ใต้ลายเซ็น
      ๕.      เรียกว่า  ไปยาลน้อย  ( ไป ยาน น้อย  )
          -   ใช้เขียนหลังคำที่เป็นข้อความสั้นจากคำเต็มที่รู้จักกันดี  แต่เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคำเต็ม  เช่น         กรุงเทพฯ              อ่านว่า         กรุงเทพมหานคร        โปรดเกล้าฯ          อ่านว่า        โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม        เฝ้าฯ                       อ่านว่า         เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท        ทูลเกล้าฯ               อ่านว่า          ทูลเกล้าทูลกระหม่อม        น้อมเกล้าฯ            อ่านว่า          น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
      ๖.   ฯลฯ   เรียกว่า  เครื่องหมายไปยาลใหญ่  ( ไป ยาน ใหญ่ )
          -   ใช้เขียนหลังข้อความที่ยังไม่จบ  และข้อความนั้น  ประเภทเดียวกัน         อ่านเครื่องหมายว่า   ละ  เมื่ออยู่ท้ายคำ        อ่านว่า  ละถึง  เมื่ออยู่กลางคำ       เช่น   เครื่องมือจับสัตว์น้ำมีมากมาย  เช่น  แห  อวน  สวิง  โพงพาง  ฯลฯ  อ่านว่า  ละ                    พยัญชนะไทยมี  ๔๔  ตัว  คือ        ฯลฯ    อ่านว่า  ละถึง
    ๗.     -   เรียกว่า  เครื่องหมายยัติภังต์  ( ยัด ติ  พัง )
        -   ใช้เขียนท้ายข้อความที่เป็นคำเดียวกัน  แต่ต้องแยกเขียน  เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะของคำประพันธ์        เช่น   คุณบิดรดุจอา -  กาศกว้าง
        -   ใช้เขียนเมื่อต้องแยกคำ  เพราะมาอยู่ตรงสุดบรรทัดแล้วไม่สามารถเขียนคำเต็มได้        ( แต่ ไม่ค่อยนิยมใช้แยกคำ )
        -   ใช้เขียนคั่นคำอ่านแต่ละพยางค์        เช่น   มกราคม  อ่านว่า   มะ กะ รา คม
        -   ใช้ในความหมายว่า และ หรือ  กับ            เช่น     ม้านิลมังกร สุดสาคร
        -  ใช้ในความหมาย  ถึง                                    เช่น      เชียงราย ปัตตานี              ๐๘.๐๐ ๑๖.๐๐ น.
    ๘. ____ เรียกว่าเครื่องหมาย สัญประกาศ ( สัน-ยะ-ประ-กาด )
        -   ใช้ขีดเส้นใต้เน้นคำ หรือข้อความที่สำคัญ   เช่น  เครื่องหมายวรรคตอน       เรื่องพระอภัยมณีเป็นยอดนิทานคำกลอน       ห้ามเดินลัดสนาม
    ๙.        เรียกว่าเครื่องหมาย อัญประกาศ ( อัน-ยะ-ประ-กาศ )
        -   ใช้เขียนคร่อมข้อความที่เป็นคำพูด        เช่น  ครูพูดว่า  ดวงมณี  หนูได้รับรางวัล  เพราะหนูมีความประพฤติดี”    ใช่คร่อมคำหรือข้อความที่ยกมาจากที่อื่น        เช่น  สุภาษิตกล่าวว่า  ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
    ๑๐.    เรียกว่าเครื่องหมาย บุพสัญญา ( บุบ-พะ-สัน-ยา )
          -  ใช้เขียนแทนคำหรือข้อความบรรทัดบนที่เหมือนกัน โดยไม่ต้องเขียนซ้ำ แต่เวลา  อ่านต้องอ่านเต็มคำ หรือเต็มข้อความเหมือนเดิม ถ้าเป็นข้อความไม่ยาวใส่เพียงหนึ่งตัว ถ้ายาวมากใส่หลายตัวก็ได้        เช่น      เสื้อ          ราคาตัวละ      ๙๙   บาท                     กางเกง                        ๑๐๐   บาท
    ๑๑.      เรียกว่าเครื่องหมาย ไม้ยมก ( ไม้-ยะ-มก )
        -  ใช้เขียนไว้หลังคำหรือความ เพื่อให้อ่านคำหรือความนั้นซ้ำกันสองหน  แต่ต้องเป็นคำ หรือความชนิดเดียวกัน ( ใช้เขียนครั้งละ ๑ อันเท่านั้น )  เช่น        ฉันไปโรงเรียนทุกๆวัน                     อ่านว่า    ฉันไปโรงเรียนทุกทุกวัน        เขามาที่นี่ทุกวันๆ                                อ่านว่า    เขามาที่นี่ทุกวันทุกวัน        คุณครูสอนว่า อย่าทำอย่างนี้ ๆ”     อ่านว่า      คุณครูสอนว่าอย่าทำเช่นนี้อย่าทำเช่นนี้
    ๑๒.  ..… เรียกว่าเครื่องหมายจุดไข่ปลา  ( จุด-ไข่-ปลา )
        - ใช้ละข้อความที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการ  กล่าวถึง เพื่อแสดงว่า ต้องตัดตอนข้อความนั้นมาเพียงบางส่วน  โดยต้องใส่จุดอย่างน้อย ๓ จุด เช่น        ฝ่ายพญานกออกกับเต่าและเหยี่ยวก็พากันมาหาราชสีห์  ราชสีห์ก็สำแดงอานิสงส์...
        -  ใช้ละข้อความในบทร้อยกรอง  ถ้าจะละข้อความตั้งแต่ ๑ บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้  จุดไข่ปลายาวตลอดบรรทัด   เช่น        ถ้าแม้นทำสิ่งใดให้ตลอด   .......................................
        -    ใช้ในแบบพิมพ์ต่างๆ ซึ่งเว้นช่องว่างไว้กรอกข้อความ ความยาวของจุดไข่ปลา  ขึ้นอยู่กับความยาวของข้อความที่ต้องการ  เช่น        ชื่อ.......................................  นามสกุล................................................................        อายุ..................................  วัน  เดือน  ปีเกิด........................................................
    ๑๓.   /  เรียกว่าเครื่องหมายทับ   ( ทับ )
        -   ใช้ขีดหลังจำนวน เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจำนวนใหญ่  เช่น  ๕๓/๒๔๐๐
        -   ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลข  แสดงวัน เดือน ปี  เช่น  ๑๓ / ๖ / ๒๕๔๕
        -   ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับที่กับเลขศักราช  เช่น  ที่ ศธ.๙/๒๕๔๕
        -   ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ  แทนคำว่า หรือ  หมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  ตำบล/แขวง  อำเภอ/เขต
        -   ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ  มีความหมายว่า ต่อ  เช่น  กิโลเมตร/ชั่วโมง
        -   ใช้ขีดคั่นระหว่าง รหัส ทั้งที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร  เช่น  ทะเบียนเลขที่ ๑๖๖/กษ/๕๒
    ๑๔.   =   เรียกว่าเครื่องหมายเสมอภาค  (สะ - เหมอ - พาก )
        -   ใช้เขียนคั่นข้อความ เพื่อแสดงว่าทั้งสองข้างเท่ากัน เช่น         ๕ + ๕    =  ๑๐                                                                                                                           ๒๐         =    ×
    ๑๕.   ,  เรียกว่าเครื่องหมายจุลภาค   ( จุน - ละ - พาก )
        -  ใช้เขียนคั่นตัวเลขตั้งแต่  ๓ หลักขึ้นไป เช่น ๑,๑๐๕ หรือ  ๒,๓๔๕,๖๐๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น